ถ้าเราจะเอาเรื่องกับเด็กรับใช้ที่บ้าน ภารโรงที่โรงเรียนหรือสำนักงาน
ก็ขอให้หยุดคิดสักนิดหนึ่งว่า… ก็แกแค่นั้นจะเอาอะไรกับแกนักหนา
ถ้าแกมีโอกาสดีเท่าเรา แกจะมาเป็นคนใช้หรือเป็นภารโรงทำไมกัน
ก็เพราะแกไม่มีโอกาสดี ๆ อย่างเรานี่เอง
แกก็ทำอย่างนั้น อย่างที่เรารำคาญๆอยู่นั่นแหละ
คิดได้อย่างนี้ก็ค่อยหายกลุ้มไปหน่อย
ความทุกข์เเรื่องของแกก็ค่อยผ่อนคลายลง
สุภาษิตที่ว่า “ความเข้าใจเป็นมูลฐานแห่งการให้อภัย” นั้น
ยังเป็นจริงอยู่เสมอ เมื่อเข้าใจแล้วก็ให้อภัย
เห็นว่า เขาเป็นคนอย่างนั้นเอง…
พระสารีบุตรเคยแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ในการคบคนนั้น
ควรถือเอาเฉพาะส่วนดีของเขา ส่วนไม่ดีก็ตัดทิ้งไป
บางคนการทำทางกายไม่ดี แต่วาจาดี
บางคนวาจาหยาบแต่การกระทำทางกายดี
บางคนการกระทำทางกายก็หยาบ วาจาก็หยาบ แต่ใจดี
ควรถือเอาเฉพาะส่วนที่ดีนั้น
ควรถือเอาเฉพาะส่วนดีของเขา ส่วนไม่ดีก็ตัดทิ้งไป
บางคนการทำทางกายไม่ดี แต่วาจาดี
บางคนวาจาหยาบแต่การกระทำทางกายดี
บางคนการกระทำทางกายก็หยาบ วาจาก็หยาบ แต่ใจดี
ควรถือเอาเฉพาะส่วนที่ดีนั้น
ท่านเปรียบว่าเหมือนดึงผ้าออกมาจากดินโคลน เพื่อจะเอาไปปะต่อใช้สอย
เห็นส่วนไหนดีก็ตัดเอาไว้ ส่วนไหนไม่ดีก็ตัดทิ้งไป
เห็นส่วนไหนดีก็ตัดเอาไว้ ส่วนไหนไม่ดีก็ตัดทิ้งไป
ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะช่วยให้สบายใจได้มาก
ที่มา..วศิน อินทสระ. “เพื่อความสุขใจ”. กรุงเทพฯ:ธรรมดา, พิมพ์ครั้งที่ 17. 2546.